ทำไมต้องใช้ อิดิเตอร์ ในการตรวจ proofreading ?
Software Won’t Replace Human Editors Just Yet

Facebook Twitter

1 Editor and Proofreader.png

ในฐานะที่ผมทำงานเป็นอีดิเตอร์ ดังนั้นคุณอาจคาดหวังให้ผมหาเหตุผลมาแย้งว่ามนุษย์ทำงานได้ดีกว่าซอฟต์แวร์เมื่อต้องตรวจทานและแก้ไขงานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะอาชีพของผมก็ขึ้นอยู่กับเรื่องนี้ แต่ถึงอย่างนั้นลองคิดดูว่าชีวิตของผมจะง่ายเพียงใด หากผมสามารถโยนภาระที่ต้องตรวจทานและแก้ไขงานทั้งหมดให้กับคอมพิวเตอร์และได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ อย่าคิดว่าผมไม่ได้ลองทำนะ ผมแค่อยากรู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ผมจะบอกว่านั่นไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย

ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะระบุข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำการใช้คำได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ดีหากต้องการใช้เนื่องจากสามารถช่วยตรวจจับข้อผิดพลาดบางอย่างของเราได้ แต่ข้อเสียคือบางซอฟต์แวร์ไม่สามารถหาข้อผิดพลาดได้ทั้งหมด ซึ่งข้อผิดพลาดพื้นฐานที่สุดที่ซอฟต์แวร์การสะกดและไวยากรณ์ส่วนใหญ่จะตรวจจับคือการสะกดผิด แต่ส่วนใหญ่ระบบจะแจ้งเฉพาะคำที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นถ้าเราเขียนคำว่า "แบบฟอร์ม (form)" ทั้งที่จริงแล้วเราจะเขียน "จาก (form)" ระบบจะไม่สามารถแสดงคำผิดทั้งเอกสารได้เนื่องจากทั้งสองคำนั้นมีอยู่แล้วในฐานข้อมูล แต่ซอฟต์แวร์ขั้นสูงอื่นๆ อาจตรวจสอบได้ถึงปัญหาทางไวยากรณ์ เช่น เราจะได้รับแจ้งเตือนหากเราเขียนคำว่า "ที่นั่น (there)" ในขณะที่เราหมายถึง "ของพวกเขา (their)" แต่ถึงอย่างนั้น การตรวจสอบได้ถึงไวยากรณ์นี้ใช้ไม่ได้กับคำว่า “ไฮเปอร์เธอร์เมีย (hyperthermia)” และ “ไฮโปเธอร์เมีย (hypothermia)” เนื่องจากทั้งสองต่างเป็นคำนามและสะกดถูกต้อง... แล้วควรใช้เป็นคำไหนดี? นั่นเป็นคำถามที่ต้องให้มนุษย์เป็นผู้ตอบเท่านั้น
 
ปัญหาต่อมาคือความสม่ำเสมอของงานเขียนซึ่งมีสองรูปแบบ ในรูปแบบแรก เมื่อผมพิสูจน์อักษรในเอกสารที่มีเนื้อหายาวมากๆ ผมต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เครื่องหมายวรรคตอน การอ้างอิง หัวเรื่อง คำอธิบายภาพ ระบบเลขและอื่นๆ ให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันหมดทั้งเอกสาร ซึ่งรวมไปถึงการแก้ไขในจุดที่จริงๆ แล้วไม่ได้ผิด เพียงแค่อาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างเล็กน้อยจากที่เคยแก้ไขไปในเอกสารหน้าที่แล้วเท่านั้น ในกรณีนี้ผมอาจใช้ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยได้ อย่างเช่น เมื่อผมต้องการตรวจสอบว่าสัญลักษณ์ “&” นั้นใช้สำหรับการอ้างอิงในวงเล็บ แต่คำว่า “และ (and)” จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของข้อความ ซึ่งต้องมีรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกันตลอดทั้งเอกสาร ดังนั้นผมจะใช้ซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาเฉพาะ “&” เพื่อตรวจสอบว่ามีการใช้งานอย่างถูกต้องหรือไม่

2 ความรู้ภาษาอังกฤษ.png

ส่วนรูปแบบที่สองของความสม่ำเสมอของงานเขียนคือรูปแบบการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เขียนถอดความงานที่มาจากแหล่งอื่น ซึ่งแน่นอนว่าซอฟต์แวร์สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ดีที่สุดที่สามารถนำไปใช้ได้ แต่จะไม่สามารถเลือกคำเหล่านั้นไปพร้อมกับรักษาความสอดคล้องของลักษณะงานเขียนของทั้งเอกสารได้ ซึ่งต่างจากอีดิเตอร์ที่เป็นมนุษย์ที่สามารถทำการเปลี่ยนคำเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความจะมีรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร
 
ข้อดีประการสุดท้ายจากการตรวจทานและแก้ไขงานเขียนโดยมนุษย์ก็คือ อีดิเตอร์จะเข้าใจวัตถุประสงค์ของเอกสารและทราบว่าจะสื่อความของเอกสารนั้นให้กับใครและทำไม นี่คือสิ่งที่ซอฟต์แวร์ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ เมื่อผมตรวจทานและแก้ไขใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยหรือเอกสารการวิจัย ผมจะพิจารณาว่าผู้อ่านจะตอบสนองต่อวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่างไร และผมจะทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อถ่ายทอดข้อความนั้นในวิธีหรือรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละสถานการณ์

โดยสรุปแล้ว หากคุณกำลังสงสัยว่าควรใช้ซอฟต์แวร์หรือไม่ คำตอบคือคุณควรจะใช้เพราะซอฟต์แวร์สามารถช่วยจัดงานให้เป็นระเบียบและกำจัดข้อผิดพลาดบางอย่างได้ แต่ขั้นตอนหลังจากนั้นก็ต้องเป็นหน้าที่ของอีดิเตอร์ที่เป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะสามารถยกระดับงานของคุณไปสู่มาตรฐานที่กำหนดได้



3 มนุษย์กับซอฟต์แวร์.png


I’m an editor, so you would expect me to argue that humans do a better job than software when it comes to editing written English – after all, my job depends on it. However, just think how easy my life would be if I could just feed every one of my editing jobs into a computer and get perfect results. Don’t think I haven’t tried – though purely to see what happens – although I have to report that it’s definitely not a good idea.


Most software will identify errors and make suggestions. It’s certainly a good idea to use it as it will pick up some of your mistakes, but it probably won’t find them all. The most basic errors for most spelling and grammar software will be spelling mistakes, but for the most part, the system will only flag words that are not in its database. So if you write “form” when you mean “from” it will slip through the net, because both words exist. More advanced software may also pick up grammatical issues, so if you write “there” when you mean “their” you will be notified. But that won’t work with “hyperthermia” and “hypothermia” as they’re both nouns and both correctly spelled… but which one should it be? That’s a question that needs a human response.


The next problem is consistency, and this comes in two forms. First of all, when I’m proofreading a long document, I have to make sure that capital letters, punctuation, citations, headings, captions, numbering systems and so forth follow the same patterns throughout the document. This involves making changes to things that are not actually wrong, but are simply presented in a slightly different format to the way it was done on previous pages. I might use software to help with this – for example I may want to check that the symbol “&” appears for citations in parentheses, but the word “and” is used when it appears as part of the text. This has to be a consistent usage pattern throughout the document, so I’ll use the software to find every instance of “&” so I can check that it’s been used correctly.


4 ตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ.png


The second aspect of consistency is in the writing style, especially when the writer has been paraphrasing from other sources. Software can certainly make suggestions about the best words to use, but it can’t necessarily understand how to choose those words in order to keep consistency in the overall tone of the document. A human editor will be able to make changes which ensure that the text flows in the same style throughout.


The final advantage offered by the human touch is that an editor will understand the purpose of the document, and will know what is to be communicated to whom, and why. This is something that software cannot yet take into consideration. When I’m editing a university application, or a research paper, I will be thinking about how the reader will respond to the way the information is presented, and I will be making subtle changes to deliver that message in the best possible way for each particular situation.

 

In conclusion, if you want to know whether you should use software, the answer is yes – it can help to tidy up your work and remove some of the errors. But after that, there’s no question that only a human editor can bring your work up to the standard required.



บทความล่าสุด

แท็ก