จำเป็นไหม ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขบทความวิจัยของเรา
Do You Need a Subject Specialist to Edit Your Paper?

Facebook Twitter

1 เจ้าของภาษา native speaker.png

เมื่อเราเขียนบทความ เปเปอร์ หรืองานวิจัยในหัวข้อเฉพาะทางที่เป็นภาษาอังกฤษ เราจะต้องมีอีดิเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการตรวจสอบและแก้ไขงานมาช่วย เพื่อให้แน่ใจว่างานของเราจะมีมาตรฐานตามที่กำหนด โดยมาตรฐานดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับทั้งความถูกต้องของรูปแบบภาษาอังกฤษ ความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกับสาระสำคัญของเรื่อง ดังนั้นอีดิเตอร์ที่เป็นเจ้าของภาษาที่มีประสบการณ์จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับหัวข้อเฉพาะทางของเรา

ถึงแม้ว่าเราไม่จำเป็นต้องหาอีดิเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงกับบทความวิจัยในสาขาเฉพาะทางนั้นๆอย่างแท้จริง แต่จะดีมากถ้าอีดิเตอร์มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อของบทความของเราอยู่บ้าง เพราะอีดิเตอร์จะเข้าใจถึงเหตุผลการนำเสนอของเราและเข้าใจงานที่เรากำลังทำอยู่ได้ง่ายขึ้น รวมถึงจะเป็นการดีถ้าหากอีดิเตอร์มีประสบการณ์ในการแก้ไขบทความวิจัยในสาขาที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง เนื่องจากความคุ้นเคยนั้นจะทำให้อีดิเตอร์เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าบทความของเราควรเขียนออกมาอย่างไร และช่วยตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อความนั้นถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นอกจากนี้อีดิเตอร์ควรมีความคุ้นเคยกับระบบการเขียนเอกสารอ้างอิงต่างๆที่ใช้เฉพาะกับสาขาวิชาของเรา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่กำหนดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในบทความวิจัย

2 ตรวจเปเปอร์ ตรวจ essay.png


แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าความรู้ในเนื้อหาอย่างถ่องแท้ คือความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษ และนี่คือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องใช้เจ้าของภาษาเป็นอีดิเตอร์ ทักษะที่แท้จริงของอีดิเตอร์อยู่ที่ความสามารถในการตรวจสอบแก้ไขและทำให้แน่ใจว่าเอกสารของเราเขียนออกมาได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้ผู้อ่านที่มีความรู้สามารถเข้าใจงานของเราได้โดยง่าย ข้อเสียอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในการให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆช่วยแก้ไขบทความคือ อีดิเตอร์จะทราบดีว่าเรากำลังเขียนถึงอะไรทำให้อีดิเตอร์สามารถตีความหมายที่แฝงอยู่และสามารถอนุมานได้แทนที่จะอ่านจากความหมายจริงๆของเรา ในขณะที่คนที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับหัวข้องานนั้นจะสามารถเข้าใจข้อความของเราได้ก็ต่อเมื่อมีการระบุไว้อย่างชัดเจนและเขียนสื่อความออกมาได้ดีเท่านั้น ทั้งนี้อีดิเตอร์ที่ดีที่เป็นเจ้าของภาษาจะสามารถจัดระเบียบการเขียนของเรา และทำให้เนื้อหามีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านที่มีการศึกษาทุกระดับสามารถเข้าใจได้

ในสาขาวิชาเฉพาะทางที่เข้าใจได้ยาก อีดิเตอร์มืออาชีพที่เป็นเจ้าของภาษามีสิ่งสำคัญสองข้อที่จะต้องทำเมื่อมีการตรวจทานและแก้ไขบทความวิชาการ ข้อแรกคือการปรึกษาผู้เขียนเมื่อพบความไม่ชัดเจนในเนื้อหา เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือผู้เขียนรู้เรื่องที่ตัวเองเขียนเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาออกมาได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน ดังนั้นอีดิเตอร์จึงอาจต้องมีการสอบถามในส่วนที่ยังคลุมเครือเพื่อทำความเข้าใจความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเลือกสรรคำที่เหมาะสมมาใช้ก็จะง่ายขึ้น ข้อที่สองคืออีดิเตอร์ที่ดีควรอ่านงานที่มีหัวข้อเกี่ยวข้องกันจากแหล่งข้อมูลอื่นบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นทั้งในส่วนภาพรวมของเนื้อหา คำศัพท์เฉพาะสาขา และคำศัพท์เฉพาะทาง กลยุทธ์นี้ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ที่รู้เรื่องราวของบทความและอีดิเตอร์ผู้รู้เรื่องภาษา จากนั้นอีดิเตอร์ที่มีประสบการณ์จะสามารถตรวจสอบและแก้ไขให้งานของผู้เขียนสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด ถูกต้องที่สุดและอ่านได้ง่ายที่สุด 




3 Proof วิจัยและวิทยานิพนธ์.png

When you’re writing a paper in English on a specialized subject, you’ll certainly need the right editor to make sure your work reaches the required standard. That standard will involve both correct English and an appropriate style for presenting the content in line with the conventions of that particular subject, so the best choice is a native editor with experience in the topic you’re covering. 


Finding a true expert in your field probably won’t be necessary though – which is good news if your field is particularly obscure. It does help, however, if your editor has some knowledge of the topic because they’ll be able to follow your arguments more easily, and understand the work that you’re doing. It also helps if your editor has a few years’ experience of editing papers in similar fields as that familiarity will make it easier for the editor to understand the way your paper should be written, and then make sure that your message is conveyed clearly and accurately. The editor should also be familiar with the nuances of the referencing system used in your particular area of study, because it’s important to avoid errors in the citation style that’s required. 

4 มั่นใจใช้บริการตรวจภาษา.png

What is often more important than the actual subject knowledge, however, is expertise in English, and this is why a native speaker is necessary. The real skill of an editor lies in the ability to make sure that your paper is written clearly and accurately so the educated reader can easily understand your work. There is actually one potential danger in having an expert in the field to edit your paper, and that is that an expert will know exactly what you’re writing about, and will therefore be more capable of reading between the lines and inferring rather than reading your meaning, whereas someone who is not quite so familiar with your topic will only understand your message if it is clearly stated and well-written. A good native editor will be able to tidy up your writing and clarify your content in order to make it comprehensible to any educated reader.


There are two particular things that a professional native editor will do when editing a paper in a difficult specialized subject area. The first is to consult the writer when anything is not clear. The most common problem is that the writer knows the subject very well, but can’t explain the subject perfectly. The editor can ask a few questions to clarify the meaning if the text is not quite clear, and then it is usually easy to find the right words. The second thing a good editor does is to read a little bit about the topic from one or two other sources in order to get a better overview of the subject matter, and some of the specialist vocabulary and terminology. This strategy helps to bridge the gap between the writer, who knows the subject, and the editor, who knows the language. The experienced editor can then make sure that the writer’s work is expressed in the clearest, most accurate, and most readable way.



บทความล่าสุด

แท็ก