ในฐานะนักการศึกษาในประเทศไทยที่มุ่งเน้นไปที่การสอนภาษาอังกฤษเป็นหลัก (ผมสอน STEM ด้วยเช่นกัน) มีคำถามมากมายที่นักเรียนถามผม เมื่อไม่นานมานี้ นักเรียนชายเรียนเก่งคนหนึ่งชื่อว่า ภูมิ (นามสมมุติ) กำลังเขียนจดหมายสมัครเรียนต่อเพื่อให้ได้ลำดับดีๆ ในมหาวิทยาลัย เขาถามคำถามที่น่าสนใจจนทำให้ผมมองเห็น “ภาพที่ใหญ่ขึ้น” ระหว่างกระบวนการเขียนจดหมายหรือบทความแนะนำตัวเพื่อยื่นต่อมหาวิทยาลัยต่างๆ นักเรียนคนนี้ถามผมว่า เขาควรให้คนอื่นตรวจโครงสร้างและไวยากรณ์งานเขียนของเขาก่อนส่งดีไหม ผมตอบกลับทันทีว่า “ต้องตรวจสิ!” เพราะว่าเขากำลังสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัย และหลายๆ แห่งก็อยู่ต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้น งานเขียนของเขาจึงควรมีคนช่วยตรวจให้ ซึ่งนอกจะช่วยในเรื่องคุณภาพของเนื้อหาที่เขาต้องการจะสื่อแล้ว ยังรวมไปถึงหลักไวยากรณ์และการเขียนสื่อความอย่างเหมาะสมในภาษาอังกฤษด้วย เพราะเขาต้องการเรียนต่อในที่ที่สภาพแวดล้อมเป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่าผมจะตอบคำถามเขาไปแบบนั้น แต่ผมรู้สึกว่าผมติดค้างคำอธิบายในคำตอบที่ผมโพล่งออกไปกับเขาอยู่ ผมอยากจะแบ่งปันเรื่องราวที่ผมอธิบายให้ภูมิฟัง ด้วยหวังว่าจะมีนักเรียนอีกมากที่ได้รับรู้ถึงความสำคัญของการตรวจภาษา ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ตรวจเองหรือให้ผู้อื่นตรวจให้ ซึ่งอย่างหลังจะดีกว่า
นักเรียนนั้นไม่ว่าจะเรียนเก่งแค่ไหน ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังไม่รู้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมนักเรียนถึงเป็นนักเรียน เพราะพวกเขากำลังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้หรือกำลังฝึกทักษะที่ตอนนี้พวกเขายังไม่มี ในกรณีของการเรียนภาษาที่ 2 นักเรียนควรฝึกฝนและพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ผมสอนภาษาอังกฤษมาหลายปี ผมบอกได้เลยว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ว่าอายุเท่าใดจะมีทักษะการเขียนอ่อนที่สุด นักเรียนของผมสามารถสื่อสารกับผมได้ในหลากหลายเรื่อง แต่พอผมบอกให้นักเรียนกลุ่มเดียวกันนี้ลองเขียนประโยคและพารากราฟที่มีโครงสร้างเหมาะสมและสอดคล้องกัน กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากสำหรับพวกเขา ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะตอนฝึกเขียนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรียนเปียโนเอย ฝึกแก้โจทก์คณิตศาสตร์เอย เราทุกคนต่างต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนชำนาญอยู่เสมอ นี่เป็นการอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่าทำไมถึงควรมีคนช่วยตรวจงานให้คุณ แม้แต่ตัวผมเองที่เป็นเจ้าของภาษา ก็ยังชอบให้คนอื่นช่วยตรวจสอบงานให้เช่นกัน เพราะอะไรน่ะหรือ? เพราะผมต้องการให้มีตาอีกคู่มาช่วยตรวจจับข้อผิดพลาดที่ตาผมเองอาจจะมองข้ามไป ผมมั่นใจว่าผู้อ่านจะเข้าใจถึงความสำคัญของประเด็นนี้ สำหรับผู้เรียนภาษาที่ 2 ที่กำลังฝึกเขียนภาษาใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยนี้ เหตุผลที่พวกเขาฝึกเขียนก็เพราะความสามารถและทักษะยังไม่มากพอที่จะเขียนแล้วไม่มีข้อผิดพลาด หากคุณเขียนงานแต่ยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะทำให้งานไร้ซึ่งข้อผิดพลาด เพราะมันเป็นภาษาใหม่หรือภาษาที่ 2 ของคุณ หากเป็นแบบนั้น แน่นอนว่าควรมีคนช่วยตรวจทานงานเขียนให้กับคุณ คนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญที่สามารถช่วยชี้จุดบกพร่องให้คุณได้ และหวังว่าคุณจะเรียนรู้และจดจำข้อผิดพลาดเหล่านั้น พยายามไม่ให้ผิดซ้ำอีกในงานเขียนครั้งหน้า แล้วมันจะช่วยให้คุณเป็นผู้เขียนที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้หากไม่มีผู้รู้คอยช่วยเหลือหรือแก้ไขในจุดที่คุณทำพลาด ในบริบทของการเขียน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีบริการตรวจภาษา/ตรวจไวยากรณ์
กลับมาพูดถึงภูมิ ผมอธิบายกับเขาว่า เขาควรยื่นจดหมายที่มีการเขียนที่ดีเพื่อจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดีที่สุด คุณลองนึกภาพว่าหากเขายื่นจดหมายเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แต่ผู้รับงุนงงกับจดหมายที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด... คุณคิดว่าเขาเหลือโอกาสเท่าไหร่ที่จะได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัวกลางในการเรียนการสอน? นั่นแหละ.
As an educator in Thailand focusing mostly on English-language learning (I also teach STEM), I am asked all kinds of questions by my students. Recently, one of my brighter students, a boy we’ll call Poom (not his real name) who is actively writing letters to try and secure a place at university, asked me an interesting question that really made me think about the “bigger picture”. In the process of writing his letters/statements to various universities, he asked whether he should have someone check the structure and grammar in his writing before eventually submitting them. My initial reaction was “of course!” Given that he is applying to many universities, many of which are abroad in English-speaking countries, of course he should have someone check his writing. Not only for the quality of the content he expresses but also for the use of proper written expression in the English language since he hopes to study in an English-speaking environment. Despite the obviousness of the answer, I felt I owed him an explanation for my quick response. I would like to share with you what I explained to Poom in the hopes that more students become informed about the importance of proofreading, whether it’s you proofreading your own work or having someone else check it for you (which is better).
A student, no matter how bright, is not expected to know everything. That is why a student is a student: they are in the process of gaining some form of knowledge or practicing a skill that they do not have yet. In the case of second-language learning, a student is expected to practice and master four distinct skills including listening, speaking, reading, and writing. In my many years of teaching English, I can say with near certainty that writing is the weakest skill for the vast majority of learners, regardless of age. I have had many students with whom I could carry on a conversation about any number of topics. Those same students struggled when asked to write coherent, properly-structured sentences and paragraphs. This issue is not restricted to writing. Any one of us must learn and then practice a skill to master it, whether you’re practicing piano or doing math equations. This is the simple explanation for why you should always have someone check your writing. Even I, as a native-English speaker, like to have someone else check my writing. Why? Because I want another pair of eyes to identify any mistakes I might have made but failed to see when checking it myself. I’m sure the reader understands the significance of this point. For a second-language learner practicing writing in a new or unfamiliar language, the reason he/she is practicing in the first place is that they do not yet have the proficiency to write without making mistakes. If you write but aren’t proficient enough to do so without making mistakes because it is a new/second language for you, of course you need someone to check it for you who IS proficient at the language to help you identify the mistakes. Hopefully, you will be able to remember these mistakes and not make them the next time you write, thus becoming a better writer. However, you can’t learn to be better at anything without someone to help you fix whatever it is that you’re doing wrong. In the context of writing, this is why proofreading/editing services exist.
As for Poom, I also explained that he should submit letters with good writing in order to ‘put his best foot forward”. Imagine he sent letters to universities in English-speaking countries and they were riddled with mistakes…What chance do you think he would have to secure a place in a university where English was the medium of instruction? Exactly.